Mt. Fuji - Yamanashi
Itsukushima Shrine - Hiroshima
Stone Buddhist image - Anywhere
God of Cereals - Anywhere
Mt. Fuji - Yamanashi
Itsukushima Shrine - Hiroshima
Stone Buddhist image - Anywhere
God of Cereals - Anywhere
PlayPause
Mt. Fuji - Yamanashi
Itsukushima Shrine - Hiroshima
Stone Buddhist image - Anywhere
God of Cereals - Anywhere
previous arrow
next arrow

เทศกาลเซ็ตสึบุน

เซ็ตสึบุน(節分)เป็นหนึ่งในงานประเพณีที่สืบทอดมายาวนานของญี่ปุ่น สำหรับเด็กและชาวต่างชาตินั้น วันเซ็ตสึบุนเป็นหนึ่งวันที่เต็มไปด้วยกิจกรรมที่สนุกสนานมากมาย

เซ็ตสึบุนในภาษาญี่ปุ่นมีความหมายว่า “การแบ่งฤดูกาล” แม้ว่าใน1ปีของญี่ปุ่นจะมีการแบ่งฤดูกาลถึง 4 ครั้ง ประกอบไปด้วย ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว แต่ทว่าในหนึ่งวันก่อนวันแรกของฤดูใบไม้ผลินั้นจะเป็นที่รู้จักกันในชื่อของเทศกาลเซ็ตสึบุน โดยจะอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์วันที่ 2-4 (ปีนี้จะตรงกับวันที่2)

ในยุคสมัยก่อน คนญี่ปุ่นมีความเชื่อว่าในวันผลัดเปลี่ยนฤดูกาล ปีศาจจะนำพาหายนะมาสู่ฤดูกาล เพื่อกำจัดสิ่งชั่วร้าย จะปาถั่วไล่ยักษ์ ภูติผีปีศาจให้ออกไปและกินถั่วตามจำนวนอายุของตนเอง เช่น ปีนี้อายุ7ขวบ ต้องทานถั่วทั้งหมด7เม็ด ซึ่งเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนานกว่า 500 ปี

ในยุคปัจจุบัน จะมีการละเล่นปาถั่วกันในครอบครัวและกิจกรรมของโรงเรียน โดยคุณพ่อหรือคุณครูผู้ชายจะสวมหน้ากากยักษ์ แสดงบทบาทเป็นยักษ์ที่ชั่วร้าย เด็กๆจะปาถั่วในมือขับไล่ยักษ์และกล่าวถ้อยคำขับไล่ว่า “ยักษ์อยู่ข้างนอก โชคลาภอยู่ข้างใน” หมายความว่าสิ่งไม่ดีจงออกไปและสิ่งดีๆจงเข้ามา

มีอีกธรรมเนียมที่ถูกกล่าวกันในวันเซ็ตสึบุนคือต้องทานซูชิม้วนยาวที่เรียกว่า เอโฮมากิ (恵方巻き)ที่ห่อรวมวัตถุดิบ 7 อย่างสื่อถึงเทพเจ้าแห่งโชคลาภ แม้ประวัติศาสตร์เอโฮมากิจะไม่ยาวนานเท่าการปาถั่ว ตามทฤษฎีหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า สมาคมซูชิแห่งโอซาก้าได้คิดริเริ่มซูชิเอโฮมากิขึ้นในทศวรรษที่ 1980 และต่อมาในทศวรรษที่ 2000ได้ถูกวางจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อในวันเทศกาลเซ็ตสึบุนและกลายเป็นกระแสร้อนขึ้นมา วิธีการกินเรียกโชคคือขณะรับประทานควรหันหน้าเข้าหาทิศทางแห่งความโชคดี โดยในแต่ละปีจะมีทิศทางที่แตกต่างกันไป อย่างทิศทางแห่งโชคในปีนีคือ “ทิศตะวันออกเฉียงใต้”

หากมีโอกาสคุณลองฉลองงานประเพณีรื่นเริงนี้พร้อมอาหารเลิศรสดูนะ